สารานุกรมไทย


Thai
Catalog Thailand

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 6 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครจัดเป็นเอกนคร (Primate City) มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น "เอกนครที่สุดในโลก" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[4]

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกในปี พ.ศ. 2563[5] มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายในหลายรูปแบบทั้งด้านศาสนา ด้านการจับจ่ายซื้อของ ศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือสถานบริการกลางคืน เช่น พระบรมมหาราชวัง สยามสแควร์ ถนนข้าวสาร ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างมากมาย โดยในปี พ.ศ. 2562 นิตยสารฟอบส์ นิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินชื่อดังสัญชาติอเมริกา ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นลำดับที่ 1 ของโลก โดยมีนักเดินทางเข้ามากว่า 22.78 ล้านคนและทำรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 2,003 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจาก ดูไบ และ เมกกะ ตามลำดับ[6]

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า "กรุงเทพมหานคร" นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพมหานครมาจากการแต่งตั้ง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชัน และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
จังหวัดเชียงใหม่

เชียงใหม่ (คำเมือง: ᨩ᩠ᨿᨦᩲᩉ᩠ᨾ᩵, เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.76 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ เชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน[3] เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก[4] เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท Chakri Maha Prasat

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งแปดในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 ตั้งอยู่ระหว่างพระมหามณเฑียรกับพระมหาปราสาท ประกอบด้วย ปราสาท 3 องค์ ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แต่ละองค์เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสันโดยตลอด

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย จนเป็นที่มาของชื่อ "ฝรั่งสวมชฎา" [3][4]

เนื่องจากความเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งอื่น ๆ ทำให้ปัจจุบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกลายเป็นหนึ่งในจุดดึงดูดสำคัญที่สุดของพระบรมมหาราชวัง เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สำคัญที่สุดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
พระบรมมหาราชวัง/Grand Palace Bangkok

http://www.net4info.de/photos/cpg/albums/userpics/10001/Grand_Palace_Bangkok.jpg

พระบรมมหาราชวัง หรือ พระราชวังพระนคร เป็นพระราชวังที่ประทับของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แม้ปัจจุบันจะไม่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์แล้ว แต่พระบรมมหาราชวังก็ยังคงถูกใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทุกปีจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 ถึง 8,995,000 คน

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือชื่อที่นิยมเรียกติดปากของคนในพื้นที่ว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือชื่อที่นิยมเรียกติดปากของคนในพื้นที่ว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง[1][2][3]

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ สร้างขึ้นโดยดำริของ พระครูวิบูลอาจารคุณ (เกษม อาจารสุโภ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดม่วง เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ใช้ทุนทรัพย์ในการสร้างทั้งหมด 104,261,089.65 บาท จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา รวมเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี โดยที่ พระครูวิบูลอาจารคุณนั้นได้ถึงแก่มรณกรรมไปเสียก่อนที่การก่อสร้างจะเสร็จด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้ชื่อพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" เป็นการอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีความสูงจากฐานองค์พระถึงยอดเกศา 95 เมตร เทียบเท่ากับตึก 40 ชั้น และมีความกว้างของหน้าตัก 63.05 เมตร ซึ่งการเดินวนรอบองค์พระต้องใช้เวลากว่า 3 นาที

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ เป็นพระพุทธรูปที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดม่วงและจังหวัดอ่างทอง

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือ พระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนยอดเขานาคเกิด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขานากเกิด ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นรูปปั้นที่มีความสูงเป็นอันดับที่ห้าของประเทศไทย

พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือ พระใหญ่[1] เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนยอดเขานาคเกิด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขานากเกิด [2] ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นรูปปั้นที่มีความสูงเป็นอันดับที่ห้าของประเทศไทย

พระมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 25.45 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวนอกบุด้วยหินอ่อนสีขาว พระพักตร์หันไปทางอ่าวฉลอง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 19 องศา [3] เป็นพระประธานของวัดกิตติสังฆาราม (วัดกะตะ)

การก่อสร้างพระมิ่งมงคลเอกนาคคีรี ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ด้วยเงินบริจาคของประชาชน โดยได้รับอนุญาตการจัดสร้างจากกรมป่าไม้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการประดับผิวองค์พระ

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ ลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยสร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัดพระธรรมกายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชน และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แต่สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งได้ขอขมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ขึ้นวัดพระธรรมกายไว้ในบัญชีดำฐานเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ[3]

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้วัดพระธรรมกายเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อจับกุมพระธัมมชโย

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
วัดพระธาตุหริภุญชัย (คำเมือง: LN-Wat Phrathat Hariphunchai.png) ในอดีตนิยมเรียก วัดเจดีย์หลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางวา

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย (120.45 เมตร)

องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ

นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.
วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย" ปัจจุบันมี พระธรรมวชิรโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะวัดคอกควายขึ้นเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ" ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาพระเจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภาซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดคอกกระบือเป็น "วัดยานนาวา"

ด้านในมีพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าให้สักการะ

This image, video or audio may be copyrighted. It is used for educational purposes only.