สารานุกรมไทย


泰语
Catalog 泰国

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 6 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครจัดเป็นเอกนคร (Primate City) มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น "เอกนครที่สุดในโลก" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[4]

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกในปี พ.ศ. 2563[5] มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายในหลายรูปแบบทั้งด้านศาสนา ด้านการจับจ่ายซื้อของ ศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือสถานบริการกลางคืน เช่น พระบรมมหาราชวัง สยามสแควร์ ถนนข้าวสาร ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างมากมาย โดยในปี พ.ศ. 2562 นิตยสารฟอบส์ นิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินชื่อดังสัญชาติอเมริกา ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นลำดับที่ 1 ของโลก โดยมีนักเดินทางเข้ามากว่า 22.78 ล้านคนและทำรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 2,003 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจาก ดูไบ และ เมกกะ ตามลำดับ[6]

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า "กรุงเทพมหานคร" นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพมหานครมาจากการแต่งตั้ง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชัน และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
จังหวัดเชียงใหม่

เชียงใหม่ (คำเมือง: ᨩ᩠ᨿᨦᩲᩉ᩠ᨾ᩵, เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.76 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ เชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน[3] เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก[4] เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท Chakri Maha Prasat

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งแปดในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 ตั้งอยู่ระหว่างพระมหามณเฑียรกับพระมหาปราสาท ประกอบด้วย ปราสาท 3 องค์ ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แต่ละองค์เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสันโดยตลอด

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย จนเป็นที่มาของชื่อ "ฝรั่งสวมชฎา" [3][4]

เนื่องจากความเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งอื่น ๆ ทำให้ปัจจุบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกลายเป็นหนึ่งในจุดดึงดูดสำคัญที่สุดของพระบรมมหาราชวัง เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สำคัญที่สุดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
พระบรมมหาราชวัง/Grand Palace Bangkok

http://www.net4info.de/photos/cpg/albums/userpics/10001/Grand_Palace_Bangkok.jpg

พระบรมมหาราชวัง หรือ พระราชวังพระนคร เป็นพระราชวังที่ประทับของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แม้ปัจจุบันจะไม่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์แล้ว แต่พระบรมมหาราชวังก็ยังคงถูกใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทุกปีจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 ถึง 8,995,000 คน

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือชื่อที่นิยมเรียกติดปากของคนในพื้นที่ว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือชื่อที่นิยมเรียกติดปากของคนในพื้นที่ว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง[1][2][3]

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ สร้างขึ้นโดยดำริของ พระครูวิบูลอาจารคุณ (เกษม อาจารสุโภ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดม่วง เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ใช้ทุนทรัพย์ในการสร้างทั้งหมด 104,261,089.65 บาท จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา รวมเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี โดยที่ พระครูวิบูลอาจารคุณนั้นได้ถึงแก่มรณกรรมไปเสียก่อนที่การก่อสร้างจะเสร็จด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้ชื่อพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" เป็นการอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีความสูงจากฐานองค์พระถึงยอดเกศา 95 เมตร เทียบเท่ากับตึก 40 ชั้น และมีความกว้างของหน้าตัก 63.05 เมตร ซึ่งการเดินวนรอบองค์พระต้องใช้เวลากว่า 3 นาที

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ เป็นพระพุทธรูปที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดม่วงและจังหวัดอ่างทอง

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือ พระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนยอดเขานาคเกิด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขานากเกิด ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นรูปปั้นที่มีความสูงเป็นอันดับที่ห้าของประเทศไทย

พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือ พระใหญ่[1] เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนยอดเขานาคเกิด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขานากเกิด [2] ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นรูปปั้นที่มีความสูงเป็นอันดับที่ห้าของประเทศไทย

พระมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 25.45 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวนอกบุด้วยหินอ่อนสีขาว พระพักตร์หันไปทางอ่าวฉลอง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 19 องศา [3] เป็นพระประธานของวัดกิตติสังฆาราม (วัดกะตะ)

การก่อสร้างพระมิ่งมงคลเอกนาคคีรี ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ด้วยเงินบริจาคของประชาชน โดยได้รับอนุญาตการจัดสร้างจากกรมป่าไม้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการประดับผิวองค์พระ

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ ลานพระราชวังดุสิต (ลานพระบรมรูปทรงม้า) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยสร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัดพระธรรมกายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชน และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แต่สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งได้ขอขมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ขึ้นวัดพระธรรมกายไว้ในบัญชีดำฐานเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ[3]

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้วัดพระธรรมกายเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อจับกุมพระธัมมชโย

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
วัดพระธาตุหริภุญชัย (คำเมือง: LN-Wat Phrathat Hariphunchai.png) ในอดีตนิยมเรียก วัดเจดีย์หลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางวา

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย (120.45 เมตร)

องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ

นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的
วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย" ปัจจุบันมี พระธรรมวชิรโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะวัดคอกควายขึ้นเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ" ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาพระเจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภาซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดคอกกระบือเป็น "วัดยานนาวา"

ด้านในมีพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าให้สักการะ

此图片/视频/音频可能受版权保护,它仅用于教学目的